น้ำมันเบนซินที่เราเติมที่ปั๊ม สมมติราคา 32.04 บาท เราจะบ่นกันว่า ทำไมน้ำมันราคาแพงขนาดนี้ ซึ่งความจริงแล้ว น้ำมันไม่ได้แพงขนาดลิตรละ 32 บาท แต่เราต้องจ่ายค่าอะไรต่อสารพัดบวกเพิ่มเข้าไปจนเป็นราคาที่เราต้องจ่ายนั่นแล
ความจริงก็คือ ถ้าน้ำมันราคา 32.04 บาท จะประกอบไปด้วย
ราคา ณ โรงกลั่น
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลง 2.2700 บาท
ภาษีสรรพาสามิตร 6.3000 บาท
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.2500 บาท
ภาษีเทศบาล 0.6300 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.0960 บาท
ค่าการตลาด 0.7376 บาท
ทุกครั้งที่เติมน้ำมัน ก็ลองคิดถึงตัวเลขเหล่านี้ ถ้าไม่อยากจ่ายมาก ก็ใช้น้ำมันให้น้อยลง ^ ^
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ทำไมน้ำมันต้องปรับราคาตอนตีห้า.? ทำไมต้องขึ้นทีละ 40 - 80 สตางค์ ?
คนใช้รถทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเวลาประกาศขึ้นราคาน้ำมัน มันถึงต้องขึ้นราคากันแต่ไก่โห่ ตีห้าบ้าง หกโมงเช้าบ้าง ใครจะแหกขี้ตาไปเติมราคาเดิมได้ทัน ทำไมมันไม่ขึ้นตอนเที่ยงวัน หรือห้าโมงเย็นตอนที่คนปกติเขาเติมน้ำมันกัน
แถมเวลาขึ้นราคา ทำไมจะต้องทำตัวมักน้อย ประกาศขึ้นทีละ 40 สตางค์ 60 สตางค์บ้าง เรียกว่าไม่เต็มบาท ซึ่งจะว่าไปก็ทำให้รู้สึกดี เหมือนไม่ค่อยแพง หรือมีใครบังคับ ไม่ให้ขึ้นเต็มบาท หรือว่าราคาปรับมันเท่านั้นพอดิบพอดี
คำถามที่ไม่รู้จะรู้ไปทำไมนี่แหละดีนักหนา วันนี้ผู้เขียนก็ได้ไปหาคำตอบมาให้ตัวเองและคนอื่นที่เผอิญแวะเข้ามาอ่านบล็อก รู้ไว้สักหน่อยน่าจะดี
ทำไมต้องน้ำมันขึ้นตอนตีห้า ทำไมไม่ขึ้นสิบโมง เที่ยงวัน ตอนเย็น ?
คำตอบคือ เพราะมีการกำหนดไว้ในกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 บอกไว้ว่า การปรับราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินในปั๊มแต่ละราย จะต้องแจ้งสำนักงานและแผนนโยบายพลังงานให้ทราบล่วงหน้าก่อนปรับราคา ซึ่งในทางปฏิบัติ สถานีบริการมักปรับราคาหน้าปั๊มในเวลาประมาณ 05.00 น. หรือเราเรียกว่าตีห้าของวันรุ่งขึ้น
ฉะนั้นผู้ค้าน้ำมันตามกฎหมาย (ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง) ซึ่งหมายถึงบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจค้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณต่อปี 100,000 ตันขึ้นไป มีอยู่ 37 บริษัท ต้องกำหนดราคาของตัวเองให้เป็นไปตามกลไกการแข่งขันนั้น
ส่วนใครจะปรับน้ำมันขึ้นปรับลงจะทำได้หลังแจ้ง แต่ปกติแล้วจะเป็น บริษัท ปตท. ที่จะเป็นผู้นำร่อง ประกาศปรับขึ้นหรือปรับลงตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน และการปรับจะเป็นไปขั้น ๆ โดยราคาที่ปรับแต่ละครั้งจะอยู่ในช่วงราคา 40 - 80 สตางค์
(จากหนังสือ รวมพลังสร้างความเข้าใจ รู้จักใช้ น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ)
พรุ่งนี้จะมาเล่าต่อว่า รู้ไหมเวลาคุณจ่ายค่าน้ำมัน 1 ลิตร 30 กว่าบาท ค่าน้ำมันจริงๆ เท่าไร..รัฐบาลแอบเก็บคุณไปเท่าไร รู้แล้วจะหนาวใจ.. ^ ^
แถมเวลาขึ้นราคา ทำไมจะต้องทำตัวมักน้อย ประกาศขึ้นทีละ 40 สตางค์ 60 สตางค์บ้าง เรียกว่าไม่เต็มบาท ซึ่งจะว่าไปก็ทำให้รู้สึกดี เหมือนไม่ค่อยแพง หรือมีใครบังคับ ไม่ให้ขึ้นเต็มบาท หรือว่าราคาปรับมันเท่านั้นพอดิบพอดี
คำถามที่ไม่รู้จะรู้ไปทำไมนี่แหละดีนักหนา วันนี้ผู้เขียนก็ได้ไปหาคำตอบมาให้ตัวเองและคนอื่นที่เผอิญแวะเข้ามาอ่านบล็อก รู้ไว้สักหน่อยน่าจะดี
ทำไมต้องน้ำมันขึ้นตอนตีห้า ทำไมไม่ขึ้นสิบโมง เที่ยงวัน ตอนเย็น ?
คำตอบคือ เพราะมีการกำหนดไว้ในกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 บอกไว้ว่า การปรับราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินในปั๊มแต่ละราย จะต้องแจ้งสำนักงานและแผนนโยบายพลังงานให้ทราบล่วงหน้าก่อนปรับราคา ซึ่งในทางปฏิบัติ สถานีบริการมักปรับราคาหน้าปั๊มในเวลาประมาณ 05.00 น. หรือเราเรียกว่าตีห้าของวันรุ่งขึ้น
ฉะนั้นผู้ค้าน้ำมันตามกฎหมาย (ตามมาตรา 7 พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง) ซึ่งหมายถึงบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจค้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณต่อปี 100,000 ตันขึ้นไป มีอยู่ 37 บริษัท ต้องกำหนดราคาของตัวเองให้เป็นไปตามกลไกการแข่งขันนั้น
ส่วนใครจะปรับน้ำมันขึ้นปรับลงจะทำได้หลังแจ้ง แต่ปกติแล้วจะเป็น บริษัท ปตท. ที่จะเป็นผู้นำร่อง ประกาศปรับขึ้นหรือปรับลงตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน และการปรับจะเป็นไปขั้น ๆ โดยราคาที่ปรับแต่ละครั้งจะอยู่ในช่วงราคา 40 - 80 สตางค์
(จากหนังสือ รวมพลังสร้างความเข้าใจ รู้จักใช้ น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ)
พรุ่งนี้จะมาเล่าต่อว่า รู้ไหมเวลาคุณจ่ายค่าน้ำมัน 1 ลิตร 30 กว่าบาท ค่าน้ำมันจริงๆ เท่าไร..รัฐบาลแอบเก็บคุณไปเท่าไร รู้แล้วจะหนาวใจ.. ^ ^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)